fbpx

ผ้าคล้องแขน ช่วยลดการปวดบวม ฟื้นฟูกระดูกหักให้ติดกันเร็วขึ้น

แขนหัก Broken Arm

ผ้าคล้องแขน พยุงแขนและข้อศอก

ผ้าคล้องแขน เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ใช้บรรเทาความเจ็บปวดที่เกิดตั้งแต่บริเวณแขนลงไปถึงปลายนิ้วมือ เนื่องจากแขนของเราจะประกอบด้วย กระดูกข้างละกว่า 30 ชิ้น ตั้งแต่กระดูกต้นแขน (humerus) ที่ติดกับกระดูกหัวไหล่ ต่อด้วยกระดูกปลายแขนท่อนใน(ulna) กระดูกปลายแขนท่อนนอก (radius), กระดูกข้อมือ (carpals), กระดูกฝ่ามือ (metacarpal), และกระดูกนิ้วมือ (phalanges) ระหว่างกระดูกแต่ละท่อนเขื่อมกันด้วยข้อต่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเต็มไปหมด การใช้งานที่ถูกวิธี จะช่วยให้อาการที่ผิดปกติกลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว

หลักการทำงาน คือ ช่วยลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บที่เกิดช่วงแขนไปจนถึงข้อมือ ไม่ว่าการบาดเจ็บจะเกิดกับ กล้ามเนื้อ-เส้นเอ็น-ข้อต่อ-หรือกระดูกส่วนใด ช่วยพยุงหัวไหล่และแขนไม่ให้ขยับเยอะ ช่วยลดอาการปวดบวม ลดการอักเสบ ประคองแขนสำหรับคนที่เข้าเฝือก ช่วยป้องกันกระดูกเบี้ยวผิดรูป ช่วยฟื้นฟูกระดูกที่หักให้ต่อกันเร็วขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะทำให้พิการถาวร

ผ้าคล้องแขน ARM SLING

ปรึกษาคุณหมอ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

คุณสมบัติ

  • ลดการปวดบวม ที่เกิดขึ้นกับข้อมือ ข้อศอก แขน หัวไหล่ ไม่ว่าจะเกิดจากการล้ม กระแทก อุบัติเหตุ หรือเล่นกีฬา ลดการใช้งานหนักสำหรับกล้ามเนื้อส่วนที่บาดเจ็บ
  • กระดูกหัวไหล่หัก มักเกิดจากการหกล้มแล้วเอาไหล่กระแทกกับพื้น กระดูกหัวไหล่เป็นส่วนที่เข้าเฝือกได้ยากจึงต้องหาอุปกรณ์ช่วยลดการเคลื่อนไหวตั้งแต่ไหล่ลงมา
  • ไหล่หลุด ไหล่เป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวได้แทบจะ 360 องศา หัวไหล่ต้องการการเคลื่อนไหวที่ยืดหยุ่น เบ้ากระดูกของหัวไหล่จึงไม่ได้ลึกมากแต่โดยปกติจะมีเอ็นช่วยยึด ถ้าหากเกิดการกระชากหรืออุบัติเหตุรุนแรง หัวไหล่จึงหลุดได้ง่าย
  • ข้อมือซ้น เกิดจากการที่ข้อมือถูกบิดอย่างรุนแรง อาจบิดไปด้านข้างหรือบิดกลับหลัง ข้อมือซ้นปวดมาก หยิบจับไม่สะดวก เท้าแขนไม่ได้ ถือของหนักไม่ค่อยได้ ผู้ที่ข้อมือซ้นควรรีบพบแพทย์ ถ้ารักษาช้าอาจเกิดความผิดปกติถาวร
  • ผู้ป่วยที่เข้าเฝือกเข็ง กรณีที่กระดูกชิ้นใหญ่หัก เช่นกระดูกปลายแขน (forearm) ถ้าใส้เฝือกแข็งต้องใช้เวลาราวๆ 4-6 อาทิตย์กระดูกจึงจะสมานตัวติดกัน เพื่อการใช้ชีวิตง่ายขึ้นระหว่างนี้สามารถใช้ผ้าช่วยพยุงได้
  • ใช้คู่กับเฝือกอ่อน กรณีที่บาดเจ็บแต่ไม่ถึงกับขั้นผ่าตัด เช่น กระดูก forearm แตก ข้อมือหัก นิ้วซ้น แพทย์จะใช้เฝือกอ่อนซึ่งคล้ายเฝือกแข็งครึ่งชิ้นแล้วยึดไว้ด้วยผ้าพันแผลหรือวัสดุอื่นที่ยืดหยุ่น
  • ใช้เมื่อต้องผ่าตัด แขน ข้อมือ ถ้าหากผ่าตัดจะต้องลดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานเพื่อป้องกันการผิดรูปของกระดูก จึงต้องยึดตรึงกระดูกให้มั่นคงแม้หลังผ่าตัดแล้วก็ยังต้องประคองจนกว่ากล้ามเนื้อแขนจะแข็งแรง
  • ผู้ป่วยอ่อนเรงครึ่งซีก/อัมพาต ใช้พยุงแขนสำหรับผู้ป่วยออนแรง ผู้ที่มีปัญหากระดูกกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดไหล่

วิธีใช้

  1. สอดข้อศอกเข้าไปยังส่วนมุมของของผ้าตาข่าย
  2. ที่ปลายตาข่ายจะมีสายสำหรับสอดนิ้วโป้ง ให้สอดนิ้วโป้งเข้าไปที่สายคล้องนิ้วโป้ง
  3. พาดสาย Arm Sling ไปยังไหล่ฝั่งตรงข้ามแล้วติดเข้ากับตัวล๊อก
  4. ปรับสายให้พอดี ให้แขนตั้งฉากกับข้อศอก หรือให้ข้อมืออยู่ระดับหัวใจ อย่าให้ข้อมืออยู่ต่ำกว่าข้อศอก

คำแนะนำในการใช้งาน

  1. ตำแหน่งที่ถูกต้อง ปรับสาย Arm Sling ให้มืออยู่ระดับเดียวกับข้อศอก ทำมุม 90 องศา อย่าให้มืออยู่ต่ำกว่าข้อศอก
  2. สำหรับคนที่มีอาการบวมต้องยกแขนให้สูงเพื่อลดให้เลือดมาเลี้ยงน้อยลง ปรับสายยกข้อมือให้สูงขึ้นอีกให้มืออยู่สูงกว่าข้อศอก หรืออยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ จะช่วยลดอาการปวดบวมได้
  3. Arm Sling จะมีที่คล้องนิ้วหัวแม่มือ บางคนไม่คล้องจะทำให้ข้อมือตกดึงรั้งไหล่ทำให้ปวดไหล่ ในขณะเดียวกันบางคนสวมเข้าไปทุกนิ้วมือทำให้เกิดการรัดตึงก็ไม่ถูกต้องเช่นกัน
  4. ตัวผ้า มีหลายไซส์ ขนาด 26-30 cm. เหมาะสำหรับเด็ก / 30-34 cm. ไซส์ S / 34-38 cm. ไซส์ M / 38-42 cm. ไซส์ L / 42-46 cm. ไซส์ XL หรือสามารถวัดความยาวจากข้อศอกถึงฝ่ามือ แล้วไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรได้
  5. วิธีการซักทำความสะอาดควรซักด้วยน้ำสบู่ ตากในที่ร่ม เลี่ยงการตากแดดจัด ควรซักอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1-2 ครั้งเพื่อลดการสะสมของเหงื่อและแบคทีเรีย

สรุป

การใช้ผ้าคล้องแขน (Arm Sling) สามารถใช้ตามคำแนะนำของแพทย์หรือซื้อตามร้านขายยาได้ด้วยตัวเอง ควรซื้อขนาดที่พอดีกับแขนของเราไม่ควรใช้ของคนอื่นที่ขนาดไม่เท่ากัน ควรใช้ผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เลือกผ้าที่ซักได้ง่าย ถึงแม้อาการบาดเจ็บจะปลอดภัยแล้ว ก็ไม่ควรใช้แขนเต็มที่ ค่อยๆฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรงไปด้วย ถ้ากรณีที่ต้องทำการกายภาพบำบัดร่วมด้วยควรทำกายภาพอย่างสม่ำเสมอ

 

Facebook : Glacier59
Contact : Glacier59.com


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ

ผลิตภัณฑ์ DYNA ARM SLING