fbpx

รักษาริดสีดวงทวารอย่างไร ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ?

โรคที่ใครๆ ก็เป็นได้อย่างโรคริดสีดวงทวาร เกิดจากการที่หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักมีแรงดันภายในสูงและขยายตัวขึ้นจนกลายเป็นก้อนโป่งพองออกมา เมื่อขับถ่ายอุจจาระก้อนริดสีดวงก็จะถูกเสียดสีจนรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง และบ่อยครั้งก็มักมีเลือดติดปนออกมากับอุจจาระด้วย

ก้อนริดสีดวงที่มีขนาดใหญ่มากๆ นอกจากจะทำให้เราเจ็บระคายเคืองขณะขับถ่ายแล้ว ยังอาจทำให้คนไข้สูญเสียเลือดมากจนมีอาการหน้ามืด ตาลาย หรือโลหิตจางได้ด้วย ริดสีดวงทวารจึงเป็นโรคที่อันตรายไม่ใช่เล่นๆ แถมมีโอกาสสูงมากที่เมื่อรักษาหายแล้วจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกเรื่อยๆ ด้วย

ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า เราจะมีวิธีรักษาริดสีดวงทวารอย่างไรให้หายขาด และไม่ต้องกลัวว่าเจ้าโรคนี้จะกลับมาเยือนอีกซ้ำสอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดริดสีดวง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวาร มีอะไรบ้าง?

ปัจจัยที่อาจไปเพิ่มแรงดันภายในหลอดเลือดดำที่ทวารหนัก จนทำให้เส้นเลือดขยายตัวโป่งพองขึ้นและกลายเป็นก้อนริดสีดวงได้ในที่สุด มีดังนี้

  • การมีปัญหาด้านการขับถ่ายเป็นเวลานาน เช่น มีอาการท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง
  • การเบ่งอุจจาระแรงๆ หรือใช้เวลานั่งถ่ายนานเกินไป
  • การใช้ยาถ่าย ยาระบาย และยาสวนทวารบ่อยๆ
  • การทานอาหารที่มีกากใยน้อย ทำให้อุจจาระแข็งและถ่ายลำบาก
  • การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป
  • การตั้งครรภ์
  • การไอเรื้อรัง
  • เกิดภาวะที่ทำให้แรงดันในช่องท้องมากขึ้น เช่น ตับโต ต่อมลูกหมากโต มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมีเนื้องอกในช่องท้อง เป็นต้น

การรักษาริดสีดวงทวาร ทำได้อย่างไรบ้าง?

เราสามารถรักษาริดสีดวงทวารได้หลายวิธี ทั้งการรักษาด้วยตัวเองและการรักษาโดยแพทย์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง ขนาดของก้อนริดสีดวง และการตัดสินใจของแพทย์ด้วย

การรักษาริดสีดวงด้วยตนเอง

ถ้าอาการของโรคไม่รุนแรงมาก เราสามารถดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการบวมอักเสบของริดสีดวงได้ ดังนี้

  • นั่งแช่น้ำอุ่นในกะละมังเป็นประจำ ทั้งก่อนและหลังขับถ่ายอุจจาระ โดยใช้เวลาครั้งละประมาณ 15 นาที เพื่อช่วยลดการอักเสบและความเจ็บปวด
  • เน้นทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก รวมถึงหลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระแรงๆ ด้วย
  • เราอาจใช้ยาทาภายนอกเพื่อลดอาการเจ็บและลดความอักเสบของก้อนริดสีดวง เช่น ยารักษาริดสีดวงชนิดทาที่มีส่วนผสมของสมุนไพรธรรมชาติอย่าง ตี้หวี้ จินอิ๋งฮัว และหองฮัว เป็นต้น

การรักษาริดสีดวงโดยแพทย์

หากก้อนริดสีดวงทวารมีขนาดใหญ่มากจนดันกลับเข้าไปไม่ได้ และมีการอักเสบ บวม เจ็บ จนไม่สามารถนั่งได้ หรือมีเลือดออกมามากจนคนไข้เริ่มมีอาการโลหิตจาง ก็จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์เพื่อกำจัดก้อนริดสีดวงออกไป ดังนี้

  • การใช้ยางรัด วิธีนี้จะช่วยตัดการไหลเวียนของเลือดและทำให้ก้อนริดสีดวงฝ่อลงจนค่อยๆ ยุบไปในที่สุด โดยที่เราไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเปิดแผลและไม่ต้องเจ็บตัวมากนัก ในขณะรัดยางไว้คนไข้อาจรู้สึกหน่วงๆ ท้องในช่วง 3 วันแรก แต่เมื่อก้อนริดสีดวงยุบลงยางที่รัดไว้ก็จะหลุดออกไปเอง โดยใช้เวลารักษาประมาณ 1 สัปดาห์
  • การฉีดยา แพทย์จะใช้ยาชนิดเดียวกับที่ใช้รักษาเส้นเลือดขอด ซึ่งจะช่วยให้หลอดเลือดบริเวณทวารหนักตีบแข็งและหดตัวกลับไปได้ วิธีนี้เหมาะกับก้อนริดสีดวงที่บวมอักเสบและมีเลือดออกมาก แต่อาจไม่เหมาะกับคนที่มีริดสีดวงหลายหัว เพราะจะให้ผลไม่ทั่วถึงเท่าวิธีใช้ยางรัด
  • การจี้ริดสีดวง วิธีนี้อาจใช้แสงเลเซอร์ อินฟาเรด หรือใช้ความร้อนจี้ไปที่ก้อนริดสีดวงโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีและทำให้ริดสีดวงยุบลงได้อย่างรวดเร็ว
  • การผ่าตัด เป็นวิธีที่เหมาะกับก้อนริดสีดวงขนาดใหญ่ หรือคนไข้ที่มีริดสีดวงหลายหัว โดยการผ่าตัดริดสีดวงอาจใช้วิธีมาตรฐาน คือนำมีดผ่าตัดผ่าเอาก้อนเนื้อออกมาทางทวารหนักแล้วเย็บปิดปากแผล ซึ่งผู้ป่วยต้องใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1 สัปดาห์ และอาจมีอาการเจ็บแผลหลังผ่าตัดได้
  • ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือการเจาะเข้าไปข้างๆ แผลเพื่อฉายแสงเลเซอร์เข้าไปทำลายก้อนริดสีดวง ซึ่งแผลจากการเจาะจะมีขนาดเพียง 2 – 3 มิลลิเมตรเท่านั้นและไม่ต้องผ่าทางทวารหนักโดยตรง ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูงและมีความเสี่ยงในการผ่าตัดร่วมด้วย

ปรึกษาคุณหมอ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ป้องกันริดสีดวงทวารอย่างไร ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ?

เราสามารถป้องกันริดสีดวงทวารไม่ให้กลับมาเยือนซ้ำอีกได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของโรค เช่น

  • เน้นทานอาหารที่มีใยอาหารมากๆ อย่างผัก ผลไม้ และธัญพืชเต็มเมล็ด รวมถึงดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยให้อุจจาระมีความอ่อนนุ่ม ชุ่มชื้น และขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
  • ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน และควรหลีกเลี่ยงการกลั้นอุจจาระ เพราะจะทำให้ระบบขับถ่ายของเราแปรปรวนได้
  • คอยระวังเรื่องอาหารการกิน เพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเดิน ท้องเสียบ่อยๆ
  • พยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดริดสีดวงทวารได้มากกว่าคนทั่วไป
  • ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยปรับให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นตามไปด้วย

นอกจากนี้ ใครที่สังเกตว่าตัวเองมีอาการเจ็บปวดขณะขับถ่าย พบเลือดปนออกมาในอุจจาระ หรือมีติ่งเนื้อในรูทวารที่ไม่แน่ใจว่าใช่ริดสีดวงหรือเปล่า ก็ให้ทิ้งความอายไว้ก่อนแล้วรีบปรึกษากับเราซึ่งมีให้บริการคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาริดสีดวง เพราะริดสีดวงทวารที่ตรวจเจอได้เร็วและได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ มีโอกาสจะหายเองได้มากกว่าโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด และยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคซ้ำได้น้อยกว่าด้วย


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ